วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554





เนื้อเรื่องย่อ อิเหนา
         มีกษัตริย์วงศ์เทวาสี่พระนคร เป็นพี่น้องกัน ครองเมืองสำคัญตามลำดับ
คือ กุเรปัน ดาหา กาหลังสิงหัดส่าหรี มเหสีของท้าวกุเรปันและท้าวดาหา
เป็นพี่น้องกันด้วย ท้าวกุเรปันมีโอรสชื่อ อิเหนา ซึ่งเป็นตัวละครเอกของเรื่อง
เป็นชายหนุ่มรูปงามมีความสามารถเชี่ยวชาญในการรบ และเป็นชาย
ที่มีเสน่ห์ เป็นที่ชื่นชอบของเพศตรงข้าม ส่วนท้าวดาหามีธิดา ชื่อ บุษบา
ซึ่งรูปงามมาก เป็นนางเอกของเรื่อง

ท้าวกุเรปันและท้าวดาหา ได้หมั้นหมายอิเหนาและบุษบาไว้ตั้งแต่ยังเยาว์วัย
เพื่อจะได้อภิเษกเป็นคู่ครองกันสมตามศักดิ์ศรีของวงศ์เทวา โดยที่
ทั้งสองฝ่ายยังไม่เคยพบเห็นกันมาก่อน ต่อมาอิเหนาเป็นผู้แทนท้าวกุเรปัน
ไปในงานศพท้าวหมันยา ซึ่งมเหสีท้าวหมันหยาเป็นญาติ อิเหนาได้พบ
นางจินตะหราวาตี ธิดาท้าวหมันหยา ได้นางจินตะหราซึ่งต่ำศักดิ์กว่าเป็นชายา
เมื่อถึงเวลาจะต้องแต่งงานกับบุษบา อิเหนาซึ่งหลงนางจินตะหราอยู่ที่
เมืองหมันหยาได้ปฏิเสธไม่กลับไปแต่งงานกับบุษบา
ท้าวดาหาพระบิดาของบุษบากริ้วโกรธมาก จึงประชดยกนางบุษบาให้จรกา
แห่งเมืองล่าสำ ซึ่งรูปชั่วตัวดำ ต่อมา วิหยาสะกำ โอรสท้าวกะหมังกุหนิง
ได้รูปวาดนางบุษบาที่จรกาให้ช่างลอบไปวาด แล้วเทวดามาบันดาล
ให้รูปวาดบุษบาหายไป ๑ รูป ไปตกอยู่ในมือวิหยาสะกำ เมื่อได้เห็นรูป
ก็หลงรัก ส่งทูตไปสู่ขอ แต่ท้าวดาหายกนางบุษบาให้จรกาแล้ว
วิหยาสะกำแห่งเมืองกะหมังกุหนิงจึงยกทัพมาชิงนางบุษบา
ท้าวกุเรปันและมเหสีส่งสารไปให้อิเหนายกทัพไปช่วยเมืองดาหา อิเหนา
ก็โอ้เอ้อยู่ จนต้องมีสารไปตัดเป็นตัดตายว่า
 

ถึงไม่เลี้ยงบุษบาเห็นว่าชั่ว
แต่เขารู้อยู่ว่าตัวนั้นเป็นพี่
อันองค์ท้าวดาหาธิบดี
นั้นมิใช่อาฤาว่าไร
แม้นมิยกพลไกรไปช่วย
ถึงเราม้วยก็อย่ามาดูผี
อย่าดูทั้งเปลวอัคคี
แต่วันนี้ขาดกันจนบรรลัย
 
เมื่ออิเหนาได้เห็นบุษบาเพียงครั้งแรกก็หลงรักและคลั่งไคล้อย่างหนัก
จึงทำอุบายลักพานางบุษบาไปซ่อนไว้ในถ้ำและได้อยู่ร่วมกันมีความสุข
แต่เทพยดา ปะตาระกาหลง ซึ่งเป็นอัยกา (ปู่)ไม่พอใจที่อิเหนาประพฤติตน
ไม่ดี จึงลงโทษบันดาลให้ลมพายุหอบนางบุษบา ซึ่งออกมาชมสวนไป
และมีบันดาลให้นางกลายร่างเป็นชาย ชื่อ อุนากรรณ สาปไว้ด้วยว่า
ต่อเมื่อพี่น้องสี่นครมาพบกันพร้อมหน้าเมื่อใด อุนากรรณจึงจะกลายร่าง
จากชายเป็นบุษบาได้ หากไม่ถึงเวลานั้น แม้อิเหนาพบบุษบา ก็ไม่สามารถจะ
ทราบว่านางคือบุษบา ปะตาระกาหลาประทานกฤชให้อุนากรรณ
ต่อจากนั้นอุนากรรณก็เที่ยวร่อนเร่พเนจรไปตามเมืองต่างๆ รบชนะ
ได้ธิดาของเมืองต่างๆ มาร่วมเดินทาง

ฝ่ายอิเหนาเมื่อทราบว่าบุษบาหายไป ก็ออกติดตามหา ระหว่างทางรบชนะ
ได้เมืองต่างๆ ได้พบอุนากรรณ แม้สงสัยว่าเป็นบุษบา แต่สืบอย่างไรก็
พบว่าอุนากรรณเป็นชาย ต่อมาอิเหนาปลอมตัวเป็น ปันหยี (โจรป่า)
ออกตามหานางบุษบาไปทุกหนทุกแห่งด้วยความทุกข์ทรมานใจ
จนในที่สุดได้พบนางบุษบาบวชเป็นแอหนัง (ชี)อยู่ที่เขาตะหลากัน
และตั้งใจว่าจะฆ่าตัวตาย ปันหยีปลอมเป็นเทวดาไปลวงนางแอหนังว่า
จะพาไปสวรรค์ แล้วพานางมายังเมืองกาหลัง ทำอุบายให้ประสับตา
พี่เลี้ยงเล่นหนังพรรณนาเรื่องของอิเหนาและบุษบาให้นางแอหนังดู
ในที่สุดปันหยีก็รู้ว่าแอหนังคือบุษบา ประจวบกับมีเหตุให้ระเด่นพี่น้อง
ทั้งสี่เมืองมาครบ อิเหนาจึงสึกชี แอหนังเป็นบุษบา ภายหลังได้อภิเษกกัน
อิเหนาเป็นบทระพราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะให้บทละคร
เรื่องอิเหนามีคุณค่าสูง ทั้งในเชิงวรรณศิลป์ และนาฏศิลป์ คีตศิลป์
เมื่อทรงพระราชนิพนธ์แต่ละตอนเสร็จแล้ว ได้โปรดเกล้าฯให้
กรมขุนพิทักษ์เทเวศร์ นำไปทดลองขับร้องประกอบดนตรี จัดท่ารำ
แก้ไขปรับปรุงให้รัดกุม กระชับ จนเป็นที่พอพระราชหฤทัยทุกตอน
ด้วยเหตุนี้ บทละครเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ใน
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงมีความไพเราะ งดงาม
เพียบพร้อมด้วยคุณลักษณะแห่งวรรณศิลป์ ในเชิงนาฏศิลป์
ก็เป็นบทละครที่มีลีลางดงาม พระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาจึงเป็นที่ประทับใจ
ผู้คนทุกยุคทุกสมัยตลอดมา มีผู้นำไปแสดงละคร ใช้เป็นบทขับร้อง
และตีพิมพ์เผยแพร่เป็นวรรณคดีอันอมตะของชาติ และ
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว วรรณคดีสโมสร
ได้ตัดสินให้ อิเหนาเป็นยอดแห่งกลอนบทละคร
พระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนานี้ นอกจากมีคุณค่าสูงเชิงวรรณศิลป์และ
นาฏศิลป์ คีตศิลป์ (ขับร้องและดนตรี) แล้ว ยังมีคุณค่าเชิงประวัติศาสตร์
สังคมศาสตร์ ด้วย เช่น สะท้อนภาพบ้านเมืองในสมัยต้นรัตนโกสินทร์
นอกจากนั้น ยังกล่าวถึง ขนบประเพณีสำคัญทั้งในราชสำนักและในหมู่สามัญชน
การดำรงชีวิต สภาพเศรษฐกิจการค้าอาชีพ การแต่งกาย เครื่องใช้ต่างๆ
รวมทั้งศาสนาและศิลปวัฒนธรรมของไทยในอดีต ซึ่งบางอย่างยังเป็นแบบแผน
ประเพณีตกทอดมาถึงปัจจุบัน เช่น ประเพณีสมโภชลูกหลวงประสูติใหม่
ประเพณีการพระเมรุ ซึ่งยังคงเป็นแนวปฏิบัติอยู่ในราชสำนักของไทย และ
ให้ความรู้เกี่ยวกับประเพณีอื่นๆ เช่น แห่สระสนานใหญ่ ประเพณีโสกันต์
ซึ่งนักปราชญ์ทางวรรณคดีและสังคมศาสตร์กล่าวว่า
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์
ไว้ตรงตามตำราราชประเพณีโบราณ เพียงแต่ทรงดัดแปลงแก้ไขให้สอดคล้อง
กับเนื้อเรื่อง ดังนั้น คนไทยสมัยต่อมาจนถึงปัจจุบัน จึงนิยมยกย่องและศึกษา
สืบทอดเรื่องอิเหนาตลอดมา ซึ่งนอกจากได้รับความเพลิดเพลิน
ได้รับอรรถรสอันเปี่ยมด้วยคุณค่าทางวรรณศิลป์แล้ว ยังได้รับประโยชน์
ด้านความรู้อันเป็นแบบแผนแนวทางในการดำรงชีวิตเป็นอย่างดี เช่น
คติในข้อที่บุตรธิดาไม่เชื่อฟังอยู่ในโอวาทบิดามารดา คือ อิเหนา
ซึ่งต้องประสบเคราะห์กรรม พลัดพรากจากบุคคลอันเป็นที่รัก
ต้องได้รับความทุกข์ทรมานยากลำบากสาหัสในการร่อนเร่ติดตาม
หานางบุษบาเป็นเวลาช้านานกว่าจะพ้นปัญหา ความรักหลงในอิสตรี
อาจนำมาซึ่งความเดือดร้อนถึงชีวิต เช่น วิหยาสะกำ และความรักลูกตามใจ
จนเกิดภัยแก่ชีวิตทั้งของตนและลูก เช่น ท้าวกะหมังกุหนิง พระบิดาของวิหยาสะกำ
เป็นต้น 
http://www.baanmaha.com/community/thread19870.html

 ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

เนื้อเรื่องย่อ

           ท้าวยศวิมลมีมเหสีชื่อนางจันท์เทวี มีสนมเอกชื่อนางจันทาเทวี ไม่มีโอรสธิดา จึงบวงสรวงและรักษาศีลห้าเพื่อขอบุตร และประกาศแก่พระมเหสีและนางสนมว่าถ้าใครมีโอรสก็จะมอบเมืองให้ครอง
อยู่มานางจันท์เทวีทรงครรภ์ เทวบุตรจุติมา เป็นพระโอรสของนาง แต่ประสูติมาเป็นหอยสังข์ นางจันทาเทวีเกิดความริษยาจึงติดสินบนโหรหลวงให้ทำนายว่าหอยสังข์จะทำให้ บ้านเมืองเกิดความหายนะ ท้าวยศวิมลหลงเชื่อนางจันทาเทวี จึงจำใจต้องเนรเทศนางจันท์เทวีและหอยสังข์ไปจากเมือง
นางจันท์เทวีพาหอยสังข์ไปอาศัยตายายช่าวไร่ ช่วยงานตายายเป็นเวลา 5 ปี พระโอรสในหอยสังข์แอบออกมาช่วยทำงาน เช่น หุงหาอาหาร ไล่ไก่ไม่ให้จิกข้าว เมื่อนางจันท์เทวีทราบก็ทุบหอยสังข์เสีย
ในเวลาต่อมา พระนางจันทาเทวีได้ไปว่าจ้างแม่เฒ่าสุเมธาให้ช่วยทำเสน่ห์เพื่อที่ท้าวยศ วิมลจะได้หลงอยู่ในมนต์สะกด และได้ยุยงให้ท้าวยศวิมลไปจับตัวพระสังข์มาประหาร ท้าวยศวิมลจึงมีบัญชาให้จับตัวพระสังข์มาถ่วงน้ำ แต่ท้าวภุชงค์(พญานาค) ราชาแห่งเมืองบาดาลก็มาช่วยไว้ และนำไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ก่อนจะส่งให้นางพันธุรัตเลี้ยงดูต่อไปจนพระสังข์มีอายุได้ 15 ปี
วันหนึ่ง นางพันธุรัตได้ไปหาอาหาร พระสังข์ได้แอบไปเที่ยวเล่นที่หลังวัง และได้พบกับบ่อเงิน บ่อทอง รูปเงาะ เกือกทอง ไม้พลอง และพระสังข์ก็รู้ความจริงว่านางพันธุรัตเป็นยักษ์ เมื่อพระสังข์พบเข้ากับโครงกระดูก จึงได้เตรียมแผนการหนีด้วยการสวมกระโดดลงไปชุบตัวในบ่อทอง สวมรูปเงาะ กับเกือกทอง และขโมยไม้พลองเหาะหนีไป
เมื่อนางพันธุรัตทราบว่าพระสังข์หนีไป ก็ออกตามหาจนพบพระสังข์อยู่บนเขาลูกหนึ่ง จึงขอร้องให้พระสังข์ลงมา แต่พระสังข์ก็ไม่ยอม นางพันธุรัตจึงเขียนมหาจินดามนตร์ที่ใช้เรียกเนื้อเรียกปลาได้ไว้ที่ก้อนหิน ก่อนที่นางจะอกแตกตาย ซึ่งพระสังข์ได้ลงมาท่องมหาจินดามนตร์จนจำได้ และได้สวมรูปเงาะออกเดินทางต่อไป
พระสังข์เดินทางมาถึงเมืองสามล ซึ่งมีท้าวสามลและพระนางมณฑาปกครองเมือง ซึ่งท้าวสามลและพระนางมณฑามีธิดาล้วนถึง 7 พระองค์ โดยเฉพาะ พระธิดาองค์สุดท้องที่ชื่อ รจนา มีสิริโฉมเลิศล้ำกว่าธิดาทุกองค์ จนวันหนึ่ง ท้าวสามลได้จัดให้มีพิธีเสี่ยงมาลัยเลือกคู่ให้ธิดาทั้งเจ็ด ซึ่งธิดาทั้ง 6 ต่างเสี่ยงมาลัยได้คู่ครองทั้งสิ้น เว้นแต่นางรจนาที่มิได้เลือกเจ้าชายองค์ใดเป็นคู่ครอง ท้าวสามลจึงได้ให้ทหารไปนำตัวพระสังข์ในร่างเจ้าเงาะซึ่งเป็นชายเพียงคน เดียวที่เหลือในเมืองสามล ซึ่งนางรจนาเห็นรูปทองภายในของเจ้าเงาะ จึงได้เสี่ยงพวงมาลัยให้เจ้าเงาะ ทำให้ท้าวสามลโกรธมาก เนรเทศนางรจนาไปอยู่ที่กระท่อมปลายนากับเจ้าเงาะ
ท้าวสามลคิดจะกำจัดเจ้าเงาะทุกวิถีทาง จึงได้ให้เขยทั้งหมดไปจับปลามาให้ได้คนละร้อยตัว พระสังข์จึงได้ถอดรูปเงาะออก และท่องมหาจินดามนตร์จนได้ปลามานับร้อย ส่วนหกเขยจับปลาไม่ได้เลยสักตัว จึงเข้ามาขอพระสังข์เพราะคิดว่าเป็นเทวดา พระสังข์ก็ยินดีให้ แต่ต้องแลกกับปลายจมูกของหกเขยด้วย
ต่อมา ท้าวสามลได้ให้เขยทั้งหมดไปหาเนื้อมาให้ได้คนละร้อยตัว พระสังข์ก็ใช้มหาจินดามนตร์จนได้เนื้อมานับร้อย ส่วนหกเขยก็หาไม่ได้อีกตามเคย และได้เข้ามาขอพระสังข์ พระสังข์ก็ยินดีให้ แต่ต้องแลกกับปลายหูของหกเขยด้วย
ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ของพระอินทร์ อาสน์ที่ประทับของพระอินทร์เกิดแข็งกระด้าง อันเป็นสัญญาณว่ามีผู้มีบุญกำลังเดือดร้อน จึงส่องทิพยเนตรลงไปพบเหตุการณ์ในเมืองสามล จึงได้แปลงกายเป็นกษัตริย์เมืองยกทัพไปล้อมเมืองสามล ท้าให้ท้าวสามลออกมาแข่งตีคลีกับพระองค์ หากท้าวสามลแพ้ พระองค์จะยึดเมืองสามลเสีย
ท้าวสามลส่งหกเขยไปแข่งตีคลีกับพระอินทร์ แต่ก็แพ้ไม่เป็นท่า จึงจำต้องเรียกเจ้าเงาะให้มาช่วยตีคลี ซึ่งนางรจนาได้ขอร้องให้สามีช่วยถอดรูปเงาะมาช่วยตีคลี เจ้าเงาะถูกขอร้องจนใจอ่อน และยอมถอดรูปเงาะมาช่วยเมืองสามลตีคลีจนชนะในที่สุด
หลังจากเสร็จภารกิจที่เมืองสามลแล้ว พระอินทร์ได้ไปเข้าฝันท้าวยศวิมล และเปิดโปงความชั่วของพระนางจันทาเทวี พร้อมกับสั่งให้ท้าวยศวิมลไปรับพระนางจันท์เทวีกับพระสังข์มาอยู่ด้วยกันดัง เดิม ท้าวยศวิมลจึงยกขบวนเสด็จไปรับพระนางจันท์เทวีกลับมา และพากันเดินทางไปยังเมืองสามลเมื่อตามหาพระสังข์
ท้าวยศวิมลและพระนางจันท์เทวีปลอมตัวเป็นสามัญชนเข้าไปอยู่ในวัง โดยท้าวยศวิมลเข้าไปสมัครเป็นช่างสานกระบุง ตะกร้า ส่วนพระนางจันท์เทวีเข้าไปสมัครเป็นแม่ครัว และในวันหนึ่ง พระนางจันท์เทวีก็ปรุงแกงฟักถวายพระสังข์ โดยพระนางจันท์เทวีได้แกะสลักชิ้นฟักเจ็ดชิ้นเป็นเรื่องราวของพระสังข์ ตั้งแต่เยาว์วัย ทำให้พระสังข์รู้ว่าพระมารดาตามมาแล้ว จึงมาที่ห้องครัวและได้พบกับพระมารดาที่พลัดพรากจากกันไปนานอีกครั้ง
หลังจากนั้น ท้าวยศวิมล พระนางจันท์เทวี พระสังข์กับนางรจนาได้เดินทางกลับเมืองยศวิมล ท้าวยศวิมลได้สั่งประหารพระนางจันทาเทวี และสละราชสมบัติให้พระสังข์ได้ครองราชย์สืบต่อมา

http://th.wikipedia.org/wiki/
             




                                                       พระเพื่อน พระแพง


เนื้องเรื่องย่อลิลิตพระลอ
                  เป็น ยอดวรรณคดีประเภทลิลิตเข้าใจกันว่าเป็นเรื่องจริงเล่ากันเรื่อยมาจนเป็น นิยามชื่อดัง ของท้องถิ่นไทยภาคเหนือ แถว ๆ จังหวัดแพร่และลำปาง คือเมืองสรองคงจะอยู่ที่อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ เมืองสรวงน่าจะอยู่ที่อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง นิยายเรื่องจริงเรื่องนี้น่าจะเกิดในช่วง พ.ศ. 1616-1693 จะแต่งในสมัยพระบรมไตรโลกนาถสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระเชษฐา) หรือในสมเด็จพระนารายณ์ก็ไม่ทราบแน่ชัด
ผู้แต่ง :    ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง แต่คงจะเป็นกวีชั้นนักปราชญ์ทีเดียวแต่งได้เลิศเลอนักยังหาผู้เทียบทานไม่ได้
ทำนองแต่ง :   แต่งเป็นลิลิตสุภาพ ซึ่งประกอบด้วยร่ายสุภาพ และโครงสุภาพ อีกทั้งมีบางตอนก็เป็นร่านดั้นและร่ายโบราณ
วัตถุประสงค์ในการแต่ง :      เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงอ่านเป็นที่สำราญพระทัย
เรื่องย่อ :    เนื่อง จากเมืองเหนือสองเมืองเป็นศัตรูคู่อริไม่ถูกกัน กษัตริย์เมืองสรวงพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระลอ พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีพระสิริวรกายงดงามหล่อเหลายิ่ง จนเป็นที่ปรากฏของหญิงทั้งหลาย และยังมีเมืองอีกเมืองหนึ่งชื่อว่า เมืองสรอง เมืองนี้ปกครองโดยกษัตริย์พิชัยพิษณุกรกษัตริย์พิชัยพิษณุกรทีพระราชธิดา อยู่ 2 พระองค์ พระองค์พี่ พระนามว่า พระเพื่อน พระองค์น้องพระนามว่า พระแพง
                         พระ ราชธิดาทั้งสองพระองค์ทรงต้องพระทัยในพระลอยิ่งนัก ทั้ง ๆ ที่ยังไม่เคยเห็น นางรื่นกับนางโรย สองพระพี่เลี้ยงรู้ความจริง ด้วยความสงสารจึงทูลอาสาเข้าช่วยเหลือให้สมกับพระประสงค์ ส่งคนไปสีซอให้พระลอฟัง เป็นการพรรณนาความงามของพระเพื่อนกับพระแพง ไปหาหญิงแม่มดให้ช่วยทำเสน่ห์ แต่แม่มดปฏิเสธเพราะมนตร์เสน่ห์ของตนหมดฤทธิ์ขลังเสียแล้ว แม่มดจึงพาไปหาปู่เจ้าสมิงพราย ปู่เจ้าสมิงพรายให้ความช่วยเหลือ จนพระลอต้องเสด็จมาเองสรองพระลอต้องมนตร์เสน่ห์เข้าก็ทรงเกิดความอยากทอดพระ เนตรดูพระเพื่อนกับพระแพงขึ้นมาทันที จึงอำลาพระนางบุญเหลือพระราชมารดา และพระนางลักษณวดีพระมเหสี เสด็จโดยด่วนไปยังเมืองสรองพร้อมด้วยนายแก้วนายขวัญสองพระพี่เลี้ยงเมื่อ เสด็จถึงแม่น้ำกาหลง พระลอก็ทรงเสี่ยงน้ำ ปรากฏเป็นลางร้ายไม่ต้องำพระทัยเลย แต่ก็ต้องเสด็จต่อไป เพราะต้องมนตร์เสน่ห์ของเจ้าปู่สมิงพรายเข้าแล้ว ปรากฏมีไก่ผีของเจ้าปู่สมิงพรายคอยวิ่งล่อพระลอ กับพระพี่เลี้ยงให้ต้องไปจนถึงเมืองสรองจนได้ เมื่อไปถึงสวนหลวง นางรื่นกับนางโรยออกมาที่สวนหลวงก็ทราบข่าวว่าพระลอเสด็จมาถึงแล้ว จึงออกอุบายที่สำคัญคือ ให้พระเพื่อนและพระแพงเสด็จออกไปพบพระลอ
                        จาก นั้นก็พาพระลอเข้าไปอยู่ในตำหนักพระเพื่อนพระแพง ส่วนนายแก้วให้อยู่กับนางรื่น นายขวัญให้อยู่กับนางโรย ทุกอย่างลงตัวหมดเวลาล่วงเลยไปถึงครึ่งเดือน กษัตริย์พิชัยพิษณุกรจึงทรงทราบเมื่อเสด็จมาพระตำหนักพระราชธิดา ทรงเห็นพระลอแล้วก็สงสาร ทรงเมตตารับสั่งให้จัดพิธีอภิเษกสมรสให้ แต่พระเจ้าย่าของพระเพื่อนพระแพง ไม่ทรงชอบพระลอจึงทรงขัดขวางทุกวิถีทาง ทรงอ้างรับสั่งของกษัตริย์พิชัยพิษณุกรว่าให้ทรงสั่งจับพระลอ ทหารจึงพากันจับพระลอไว้ ฝ่ายพระเพื่อนพระแพง และพระพี่เลี้ยงของทั้งสองฝ่ายรวม 4 คน ก็ได้ช่วยขัดขวางจนถงที่สุด จนสิ้นพระชนม์และสิ้นชีวิตกันทั้งหมด กษัตริย์พิชัยพิษณุกร เมื่อทรงทราบเรื่องราวก็ทรงให้มีรับสั่งให้จับพระเจ้าย่าและพรรคพวกประหาร ชีวิตเสียให้ตายตกไปตามกัน เพราะทรงพระพิโรธยิ่งนักจากนั้นกษัตริย์พิชัยพิษณุกรได้โปรดให้จัดพิธีพระศพ อย่างยิ่งใหญ่ นางบุญเหลือพระราชมารดาของพระลอส่งทูตมาร่วมงานพระศพกษัตริย์(คือ  พระลอ พระเพื่อน และพระแพง) แล้วทรงขอแบ่งพระอัฐิธาตุไปส่วนหนึ่งตั้งแต่นั้นมา เมืองสรองและเมืองสรวงก็มีสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกัน
คุณค่าของลิลิตพระลอ
                1. ในด้านอักษรศาสตร์ นับเป็นวรรณคดีที่ใช้ถ้อยคำได้อย่างไพเราะ ปลุกอารมณ์ร่วมได้ทุกอารมณ์ เป็นวรรณคดีที่มีอิทธิพลต่อวรรณคดีอื่น ๆ มากอย่างบทเสียงลือเสียงเล่าอ้างที่ว่า
                                                       เสียงลือเสียงเล่าอ้าง       อันใด พี่เอย
                                             เสียงย่อมยอยศใคร                    ทั่วหล้า
                                             สองเขือพี่หลับใหล                   ลืมตื่น ฤาพี่
                                             สองพี่คิดเองอ้า                         อย่าได้ถามเผือ
                แปลความว่า     มีเสียงร่ำลืออ้างถึงอะไรกัน เสียงนั้นยกย่องเกียรติของใครทั่วทั้งพื้นหล้าแผ่นดิน พี่ทั้งสองนอนหลับใหล จนลืมตื่นหรือพี่ พี่ทั้งสองจงคิดเอาเองเถิด อย่าได้ถามน้องเลย    บทนี้เขานับเป็นบทครูที่วรรณคดียุคต่อมาต้องนำมาเป็นแบบอย่าง
               2. ในด้านพระศาสนา    ได้ให้แง่คิดทางศาสนาอย่างเช่นความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของชีวิตซึ่งเป็นของแน่ยิ่งกว่าแน่เสียอีก อย่างบทที่ว่า
                                                                    สิ่งใดในโลกล้วน         อนิจจัง
                                                     คงแต่บาปบุญยัง                          เที่ยงแท้
                                                     คือเงาติดตัวตรังตรึง                   แน่นอยู่นา
                                                     ตามแต่บุญบาปแล                     ก่อเกื้อรักษา
หรือบทที่ว่าด้วยกฎแห่งกรรม
                                                                 ถึงกรรมจักอยู่ได้           ฉันใด พระเอย
                                                         กรรมบ่มีมีใคร                        ฆ่าเข้า
                                                        กุศลส่งสนองไป                      ถึงที่ สุขนา
                                                        บาปส่งจำตกช้า                       ช่วยได้ฉันใด
                3. ในด้านการปกครอง   จะเห็นว่าการปกครองในสมัยนั้น ต่างเมืองต่างก็เป็นอิสระ  เป็นใหญ่ ไม่ขึ้นแก่กัน แต่สามารถมีสัมพันธไมตรีกันได้
               4.  ในด้านประวัติศาสตร์   ลิ ลิตพระลอได้ให้ความรู้ในทางประวัติศาสตร์ของไทยได้ในแง่มุมต่าง ๆ โดยเฉพาะทำให้รู้เรื่องราวความเป็นมาของเมืองสรวงและเมืองสรองอันได้แก่ ลำปางและแพร่
                   5. ในด้านวิถีชีวิต   ได้มองเห็นถึงความเป็นอยู่ของคนไทยสมัยนั้นที่ยังเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์อยู่มากมีการนับถือผีสางนางไม้ แม้ปัจจุบันก็ยังมีอยู่
http://www.kroobannok.com/blog/2623

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554







พระอภัยมณี
เนื้อเรื่องย่อ


      เนื้อเรื่องในพระอภัยมณีมีว่า พระอภัยมณีและศรีสุวรรณเป็นโอรสท้าวสุทัศน์และพระนางประทุมเกสร

แห่งกรุงรัตนา เมื่อพระอภัยมณีและศรีสุวรรณมีอายุพอสมควร พระบิดามีรับสั่งให้ไปแสวงหาวิชาตาม

เยี่ยงกษัตรย์ทั้งหลาย
          ........................... ..........................................
พ่อจะแจ้งเจ้าจงจำคำโบราณ อันชายชาญเชื้อกษัตริย์ขัตติยา
ย่อมพากเพียรเรียนไสยศาสตร์เวท สิ่งวิเศษสืบเสาะแสวงหา
ได้ป้องกันอันตรายนัครา ตามกษัตริย์ขัตติยาอย่างโบราณ

          พระอภัยมณีและศรีสุวรรณออกเดินทางไปจนถึงหมู่บ้านจันตคาม พบทิศาปาโมกข์สองคน คนหนึ่ง
ชำนาญทางปี่ อีกคนหนึ่งชำนาญทางกระบอง สองพี่น้องมีความเสื่อมใส จึงสมัครเป็นศิษย์ขอเรียนวิชา
อยู่ในสำนักนั้น พระอภัยมณีเรียนเป่าปี่ ส่วนศรีสุวรรณเรียนการต่อสู้ด้วยกระบอง
ครั้นเรียนสำเร็จแล้ว พระอภัยมณีและศรีสุวรรณก็ลาอาจารย์ทิศาปาโมกข์กลับบ้านเมือง ท้าวสุทัศน์
ทรงทราบวิชาที่โอรสเรียนสำเร็จ ก็กริ้วว่าเลือกเรียนวิชาชั้นต่ำไม่สมกับเป็นโอรสของกษัตริย์
จึงขับไล่ออกจากบ้านเมือง ทั้งสองคนจึงเดินทางท่องเที่ยวไปได้รับความลำบาก ศรีสุวรรณปลอบพระอภัยมณี
เป็นคติเตือนใจถึงคุณค่าของการมีวิชาความรู้ว่า

                    มีความรู้อยู่กับตัวกลัวอะไร           ชีวิตไม่ปลดปลงคงได้ดี
          พระอภัยมณีและศรีสุวรรณเดินทางผ่านป่าเขาลำเนาไพรจนมาถึงชายทะเลแห่งหนึ่ง พบกับพราหมณ์
สามคน ชื่อ โมรา มีความสามารถผูกหญ้าเป็นสำเภายนต์ สานนสามารถอ่านมนต์เรียกลมเรียกฝนได้ และ
วิเชียรมีฝีมือยิงธนูได้ครั้งละ 7 ดอก ต่างก็ทดลองอวดวิชากัน พระอภัยมณีแสดงความสามารถในการเป่าปี่

ให้พราหมณ์ทั้งสามคนฟัง ไม่ช้าพราหมณ์ก็พากันหลับหมดทุกคน
ขณะนั้นนางผีเสื้อสมุทรตนหนึ่งออกหากิน พอได้ยินเสียงปี่ของพระอภัยมณีนางก็
"ป่วนฤดีดาลดิ้นถวิลหวัง" เมื่อเห็นพระอภัยมณีก็เกิดความรัก จึงตรงเข้าออุ้มพาไปไว้ยังถ้ำ
พระอภัยมณีจำใจต้องอยู่กับนางผีเสื้อสมุทรจนเกิดโอรส ชื่อ สินสมุทร
          วันหนึ่งขณะที่นางผีเสื้อสมุทรออกไปหากิน สินสมุทรผลักหินปากถ้ำหนีออกไปเที่ยว พบเงือกแก่
จึงจับมาให้พระอภัยมณีดู เงือกอ้อนวอนขอให้ปล่อยไป แล้วจะยอมเป็นข้าพาพระอภัยมณีหนีจาก
นางผีเสื้อสมุทรไปยังเกาะแก้วพิสดาร พระอภัยมณีเห็นเป็นโอกาสที่จะหนี จึงให้สินสมุทรปล่อย
เงือกแล้วห้ามเล่าเรื่องให้นางผีเสื้อสุมทรฟัง ต่อมานางผีเสื้อสุมทรฝันว่าเทวดาที่เกาะมาควัก
ดวงตาทั้งสองข้างเหาะหนีไป นางตกใจตื่นเล่าความฝันให้พระอภัยมณีฟัง พระอภัยมณีเห็นเป็น
โอกาสจึงทำนายฝันว่า นางกำลังมีเคราะห์ให้ไปถือศีลสะเดาะเคราะห์อยู่บนเขาเป็นเวลา 3 ราตรี
นางผีเสื้อสมุทรเชื่อจึงออกไปจำศีล พระอภัยมณีจึงเรียกเงือกให้ช่วยพาหนีโดยมีนางเงือกน้อย
ผู้เป็นลูกติดตามไปด้วย
         ครั้นครบกำหนดสามวัน นางผีเสื้อสมุทรกลับมายังถ้ำไม่เห็นพระอภัยมณีและสินสมุทร
ก็รู้ว่ามีคนพาหนีจึงออกติดตามด้วยความโกรธ
          นางผีเสื้อเหลือโกรธโลดทะลึ่ง           โตดังหนึ่งยุคนธร์ขุนไศล
ลุยทะเลโครมครามออกตามไป
                    สมุทรไทแทบจะล่มถล่มทลาย

นางผีเสื้อสมุทรตามพระอภัยมณีไปทันได้ฆ่าเงือกแก่ผัวเมียที่พาหนี แล้วออกติดตามลูกสาวเงือก
ซึ่งพาพระอภัยมณีหนีต่อไปจนถึงเกาะแก้วพิสดาร พระโยคีที่บนเกาะมาช่วยไว้ พระอภัยมณี
สินสมุทรและนางเงือกจึงอาศัยอยู่กับพระโยคีที่บนเกาะ พระอภัยมณีได้นางเงือกเป็นชายา
ต่อมาพระอภัยมณีและสินสมุทรบวชเป็นฤาษี
          ฝ่ายศรีสุวรรณกับพราหมณ์ทั้งสามคน เมื่อตื่นขึ้นมาไม่พบพระอภัยมณี ต่างก็โศกเศร้า
ครั้นคลายความโศกเศร้าแล้ว ศรีสุวรรณและพราหมณ์ทั้งสามก็ออกตามหาพระอภัยมณีจนมาถึง
เมืองรมจักร มีท้าวทศวงศ์เป็นเจ้าเมือง มีพระธิดา ชื่อ เกสรา ท้าวอุเทนเจ้าเมืองแขกชวาส่งทูต
มาขอต่อพระบิดา แต่ท้าวทศวงศ์ปฏิเสธท้างอุเทนจึงอภิเษกศรีสุวรรณกับพระธิดาเกสรา ทั้งสองมี
พระธิดาชื่อ อรุณรัศมี
          กล่าวถึงเท้าสิลราช เจ้าเมืองผลึก มีพระธิดาชื่อ สุวรรณมาลี นางได้หมั้นหมายกับอุศเรน
โอรสเจ้าเมืองลังกา เมื่อใกล้กำหนดการอภิเษก สุวรรณมาลีฝันไปว่า นางไปเที่ยวทะเล เห็น
ดวงแก้วอยู่กลางเกาะนางเหาะไปหยิบได้ โหรทายว่าจะมีเคราะห์ แต่จะได้คู่ครองที่เหมาะสม
ท้าวสิลราชจึงพาพระธิดาไปเที่ยวทางทะเลจนมาถึงเกาะแก้วพิสดาร พระอภัยมณีและสินสมุทร
จึงขอโดยสารเรือมาด้วย ผีพรายซึ่งนางผีเสื้อสมุทรสั่งให้มาคอยระวังมิให้พระอภัยมณีและ
สินสมุทรหนี นำความไปบอกนางผีเสื้อสมุทร นางจึงออกติดตามและทำลายเรือจนแตก ท้าวสิลราช
สิ้นพระชนม์ในทะเล ส่วนพระอภัยมณีว่ายน้ำหนีไปบนเกาะแห่งหนึ่ง นางผีเสื้อสมุทรติดตาม
พระอภัยมณี แต่ไม่สามารถเข้าใกล้เกาะได้ด้วยพระโยคีให้มนต์วิเศษไว้ นางจึงอ้อนวอนขอให้
พระอภัยมณีไปอยู่ด้วยดังเดิม แต่พระอภัยมณีปฏิเสธ นางผีเสื้อสมุทรจึงร่ายเวทให้ฝนตก
           "ทั้งฟ้าร้องก้องกระหึ่มเสียงครึมครืน          นภางค์พื้นบดบังกำลังมนต์"
ทั้งพายุทั้งฝนซัดพระหน่ำ พระอภัยมณีหนาวสั่นจึงตัดสินใจเป่าปี่สังหารนางผีเสื้อสมุทร
เมื่อนางสิ้นชีวิตพระอภัยมณีก็เศร้าโศกคร่ำครวญถึงนางผีเสื้อสมุทรด้วยความสงสารว่า
          สงสารนักภัคินีเจ้าพี่เอ๋ย เป็นคู่เชยเคียงชิดพิสมัย
ถึงรูปชั่วตัวดำแต่น้ำใจ จะหาไหนได้เหมือนเจ้าเยาวมาลย์
............................................. ..........................................................
อันชาตินี้มีกรรมจำนิรา เมื่อชาติหน้าขอให้พบประสบกัน

เป็นมนุษย์ครุฑาเทวาธิราช
อย่ารู้ขาดเสน่หาจนอาสัญ
ให้สมวงศ์พงษ์ประยูรตระกูลกัน อย่าต่างพันธุ์ผิดเพื่อนเหมือนเช่นนี้
       พระอภัยอณีจะปลงศพนางผีเสื้อสมุทร แต่มีชีปะขาวมาห้ามไว้ว่าถ้าเผานางจะฟื้นคืนชีพอีก
พระอภัยมณีจึงปล่อยนางให้เป็นหินอยู่ที่เชิงเขานั้น
ฝ่ายอุศเรนคู่หมั่นของสุวรรณมาลี เมื่อทราบว่าสุวรรณมาลีหายไป ก็นำเรือออกค้นหาจนมาพบ
พระอภัยมณีที่เกาะกลางทะเล จึงรับลงเรือมาด้วย ส่วนสุวรรณมาลีและสินสมุทรเมื่อเรือแตกแล้ว
สินสมุทรได้ว่ายน้ำพาสุวรรณมาลีมาขึ้นที่เกาะแห่งหนึ่ง พบเรือของโจรสุหรั่งจึงอาศัยเรือเดินทาง
กลับ ระหว่างโจรสุหรั่งพยายามเกี้ยวพาราสีสุวรรณมาลี สินสมุทรโกรธจึงฆ่าโจรสุหรั่ง แล้วนำเรือ
ออกเที่ยวค้นหาพระอภัยมณี มาจนถึงเมืองรมจักร เกิดรบกันขึ้น สินสมุทรจับศรีสุวรรณได้
ศรีสุวรรณเห็นพระธำรงค์ของพระอภัยมณีผูกที่ข้อมือของสินสมุทรก็จำได้ พบทราบว่าเป็น
อาหลานกัน ก็ชวนกันออกติดตามพระอภัยมณีพร้อมด้วยอรุณรัศมีจนมาพบกับเรือของอุศเรน
อุศเรนขอสุวรรณมาลีคืนจากสินสมุทร สินสมุทรไม่ยอมเพราะรักและนับถือสุวรรณมาลีเหมือนแม่
          สินสมุทรพูดจาประสาเด็ก ถึงเราเล็กก็ไม่ส่งอย่าสงสัย
รับบิดาก็ช่างใครเป็นไร หรือข้าใช้สอยเจ้าให้เอามา
เราตามติดบิตุรงค์ก็คงพบ ไม่รักคบคนนอกศาสนา
เจ้าเลิกทัพกลับหลังไปลังกา จะได้หาเมียงามเอาตามใจ
          พระอภัยมณีขอร้องให้สินสมุทรคืนสุวรรณมาลีแก่อุศเรนด้วยเป็นผู้มีบุญคุณที่ให้อาศัย
โดยสารเรือมาแล้ว




http://www.st.ac.th/bhatips/apaimani.html










เรื่อง......วรรณคดี

มัทนะพาธา ตำนานดอกกุหลาบ 
              พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

เนื้อเรื่องย่อ
              จอมเทพสุเทษณ์เป็นเทพผู้ใหญ่บนสรวงสวรรค์ เป็นทุกข์อยู่ด้วยความลุ่มหลงเทพธิดามัทนา แม้จิตระรถผู้สารถีคู่บารมีจะนำรูปของเทพเทวีผู้เลอโฉมหลายต่อหลายองค์มา ถวายให้เลือกชม สุเทษณ์ก็มิสนใจไยดี จิตระรถจึงนำมายาวินวิทยาธรมาเฝ้า สุเทษณ์ให้มายาวินใช้เวทมนตร์เรียกนางมัทนามาหา เมื่อมาแล้วนางมัทนาก็เหม่อลอยมิมีสติสมบูรณ์เพราะตกอยู่ในฤทธิ์มนตรา สุเทษณ์มิต้องการได้นางด้วยวิธีเยี่ยงนั้น จึงให้มายาวินคลายมนตร์ แต่ครั้นได้สติแล้ว นางมัทนาก็ปฏิเสธว่ามิมีจิตเสน่หาตอบด้วยมิว่าสุเทษณ์จะเกี้ยวพาและรำพันรัก อย่างไร สุเทษณ์โกรธนักจึงจะสาปมัทนาให้ไปเกิดในโลกมนุษย์
มัทนาขอให้นางได้ไปเกิดเป็นดอกไม้มีกลิ่นหอมเพื่อให้มีประโยชน์บ้าง สุเทษณ์จึงสาปมัทนาให้ไปเกิดเป็นดอกกุหลาบที่งามทั้งกลิ่นทั้งรูป และมีแต่เฉพาะบนสวรรค์ยังไม่เคยมีบนโลกมนุษย์ โดยที่ในทุกๆ 1 เดือน นางมัทนาจะกลายร่างเป็นคนได้ชั่ว 1 วัน 1 คืน ในเฉพาะวันเพ็ญของแต่ละเดือนเท่านั้น และถ้านางมีความรักเมื่อใด นางก็จะมิต้องคืนรูปเป็นกุหลาบอีก แต่นางจะได้รับความทุกข์ทรมานเพราะความรักจนมิอาจทนอยู่ได้ และเมือนั้นถ้านางอ้อนวอนขอความช่วยเหลือ ตนจึงจะงดโทษทัณฑ์นี้ให้แก่นาง
นางมัทนาไปจุติเป็นกุหลาบงามอยู่ในป่าหิมะวัน บรรดาศิษย์ของฤษีนามกาละทรรศินมาพบเข้าจึงนำความไปบอกพระอาจารย์ กาละทรรศินจึงให้ขุดไปปลูกในบริเวณอาศรมของตน ในขณะที่จะทำการขุดก็มีเสียงผู้หญิงร้อง กาละทรรศินเล็งญาณดูก็รู้ว่าเป็นเทพธิดามาจุติ จึงได้เอ่ยเชิญและสัญญาว่าจะคอยดูแลปกป้องสืบไป เมื่อนั้นการจึงสำเร็จด้วยดี
วันเพ็ญในเดือนหนึ่งท้าวชัยเสนกษัตริย์แห่งหัสตินาปุระได้เสด็จออกล่า สัตว์ในป่าหิมะวันและได้แวะมาพักที่อาศรมพระฤๅษี ครั้นได้เห็นนางมัทนาในโฉมของนารีผู้งดงามก็ถึงกับตะลึงและตกหลุมรัก จนถึงกับรับสั่งให้มหาดเล็กปลูกพลับพลาพักแรมไว้ใกล้อาศรมนั้นทันที
ท้าวชัยเสนรำพันถึงความรักลึกซึ้งที่มีต่อนางมัทนา ครั้นเมื่อนางมัทนาออกมาที่ลานหน้าอาศรมก็มิเห็นผู้ใด ด้วยเพราะท้าวชัยเสนหลบไปแฝงอยู่หลังกอไม้ นางมัทนาได้พรรณาถึงความรักที่เกิดขึ้นในใจอย่างท่วมท้น ท้าวชัยเสนได้สดับฟังทุกถ้อยความจึงเผยตัวออกมาทั้งสองจึงกล่าวถึงความ รู้สึกอันล้ำลึกในใจที่ตรงกันจนเข้าใจในรักที่มีต่อกัน จากค่ำคืนถึงยามรุ่งอรุณ ท้าวชัยเสนจึงทรงประกาศหมั้นและคำสัญญารัก ณ ริมฝั่งลำธารใกล้อาศรมนั้น
เมื่อมีความรักแล้ว นางมัทนาก็ยังคงรูปเป็นนารีผู้งดงาม มิต้องกลายรูปเป็นกุหลาบอีก ท้าวชัยเสนได้ทูลขอนางมัทนา พระฤษีก็ยกให้โดยให้จัดพิธีบูชาทวยเทพและพิธีวิวาหมงคลในป่านั้นเสียก่อน
ท้าวชัยเสนเสด็จกลับวังหลายเพลาแล้วแต่ก็มิได้เสด็จไปยังพระตำหนักข้างใน ด้วยว่ายังทรงประทับอยู่แต่ในอุทยาน พระนางจัณฑี มเหสีให้นางกำนัลมาสืบดูจนรู้ว่าพระสวามีนำสาวชาวป่ามาด้วย จึงตามมาพบท้าวชัยเสนกำลังอยู่กับนางมัทนาพอดี เมื่อพระนางจัณฑีเจรจาค่อนขอดดูหมิ่นนางมัทนา ท้าวชัยเสนก็กริ้วและทรงดุด่าว่าเป็นมเหสีผู้ริษยา
พระนางจัณฑีแค้นใจนัก ให้คนไปทูลฟ้องพระบิดาผู้เป็นเจ้าแห่งมคธนครให้ยกทัพมาทำศึกกับท้าวชัยเสน จากนั้นก็คบคิดกับนางค่อมอราลีและวิทูรพราหมณ์หมอเสน่ห์ ทำอุบายกลั่นแกล้งนางมัทนาโดยส่งหนังสือไปทูลท้าวชัยเสนว่านางมัทนาป่วย ครั้นเมื่อท้าวชัยเสนรีบเสด็จกลับมาเยี่ยมนางมัทนา ก็กลับพบหมอพราหมณ์กำลังทำพิธีอยู่ใกล้ๆต้นกุหลาบ วิทูรกับนางเกศินีข้าหลวงของนางจัณฑีจึงทูลใส่ความว่านางมัทนาให้ทำเสน่ห์ เพื่อให้ได้ร่วมชื่นชูสมสู่กับศุภางค์ ท้าวชัยเสนกริ้วนัก รับสั่งให้ศุภางค์ประหารนางมัทนาแต่ศุภางค์ไม่ยอม ท้าวชัยเสนจึงสั่งประหารทั้งคู่
พระนางจัณฑีได้ช่องรีบเข้ามาทูลว่าตนจะอาสาออกไปห้ามศึกพระบิดาซึ่งคง เข้าใจผิดว่านางกับท้าวชัยเสนนั้นบาดหมางกัน แต่ท้าวชัยเสนตรัสว่าทรงรู้ทันอุบายของนางที่คิดก่อศึกแล้วจะห้ามศึกเอง พระองค์จะขอออกทำศึกอีกคราแล้วตัดหัวกษัตริย์มคธพ่อตาเอามาให้นางผู้ขบถต่อ สวามีตนเอง
ขณะตั้งค่ายรบอยู่ที่นอกเมือง วิทูรพรหมณ์เฒ่าได้มาขอเข้าเฝ้าท้าวชัยเสนเพื่อสารภาพความทั้งปวงว่าพระนาง จัณฑีเป็นผู้วางแผนการร้าย ซึ่งในที่สุดแล้วตนสำนึกผิดและละอายต่อบาปที่เป้นเหตุให้คนบริสุทธิ์ต้องได้ รับโทษประหาร ท้าวชัยเสนทราบความจริงแล้วคั่งแค้นจนดำริจะแทงตนเองให้ตาย แต่อำมาตย์นันทิวรรธนะเข้าห้ามไว้ทันและสารภาพว่าในคืนเกิดเหตุนั้นตนละเมิด คำสั่ง มิได้ประหารศุภางค์และนางมัทนา หากแต่ได้ปล่อยเข้าป่าไป ซึ่งนางมัทนานั้นได้โสมะทัตศิษญ์เอกของฤษีกาละทรรศินนำพากลับสู่อาศรมเดิม แต่ศุภางค์นั้นแฝงกลับเข้าไปร่วมกับกองทัพแล้วออกต่อสู้กับข้าสึกจนตัวตาย ท้าวชัยเสนจึงรับสั่งให้ประหารท้าวมคธที่ถูกจับมาเป็นเชลยไว้ก่อนหน้านั้น แล้ว ส่วนพระนางจัณฑีมเหสีนั้นทรงให้เนรเทศออกนอกพระนคร ด้วยทรงเห็นว่าอันนารีผู้มีใจมุ่งร้ายต่อผู้เป็นสามีก็คงต้องแพ้ภัยตนเอง มิอาจอยู่เป็นสุขได้นานแน่
ฝ่ายนางมัทนานั้นได้ทำพิธีบูชาเทพและวอนขอร้องให้สุเทษณ์จอมเทพช่วยนาง ด้วย สุเทษณ์นั้นก็ยินดีจะแก้คำสาปและรับนางเป็นมเหสี แต่นางมัทนาก็ยังคงปฏิเสธและว่าอันนารีจะมีสองสามีได้อย่างไร สุเทษณ์เห็นว่านางมัทนายังคงปฏิเสธความรักของตนจึงกริ้วนักสาปส่งให้นางมัท นาเป็นดอกกุหลาบไปตลอดกาล มิอาจกลายร่างเป็นมนุษย์ได้อีกต่อไป
เมื่อท้าวชัยเสนตามมาถึงในป่า นางปริยัมวะทาที่ตามมาปรนนิบัติดูแลนางมัทนาด้วยก็ทูลเล่าความทั้งสิ้นให้ ทรงทราบ ท้าวชัยเสนจึงร้องร่ำให้ด้วยความอาลัยรักแล้วขอให้พระฤษีช่วย โดยใช้มนตราและกล่าวเชิญนางมัทนาให้ยินยอมกลับเข้าไปยังเวียงวังกับตนอีกครา
เมื่อพระฤษีทำพิธีแล้ว ท้าวชัยเสนก็รำพันถึงความหลงผิดและความรักที่มีต่อนางมัทนาให้ต้นกุหลาบได้ รับรู้ จากนั้นจึงสามารถขุดต้นกุหลาบได้สำเร็จ ท้าวชัยเสนได้นำต้นกุหลาบขึ้นวอทองเพื่อนำกลับไปปลูกในอุทยาน และขอให้ฤๅษีกาละทรรศินให้พรวิเศษว่ากุหลาบจะยังคงงดงามมิโรยราตราบจนกว่า ตัวพระองค์เองจะสิ้นอายุขัย พระฤษีก็อวยพรให้ดังใจ และประสิทธิประสาทพรให้กุหลาบนั้นดำรงอยู่คู่โลกนี้มิมีสูญพันธ์ อีกทั้งยังเป็นไม้ดอกที่กลิ่นอันหอมหวานสามารถช่วยดับทุกข์ในใจคนและดล บันดาลให้จิตใจเบิกบานเป็นสุขได้ ชาย-หญิงเมื่อมีรักก็จักใช้ดอกกุหลาบเป็นสัญญลักษณ์แห่งความรักแท้สืบต่อไป

http://th.wikipedia.org/wiki/





                                                       พระเพื่อนพระแพง

วรรณคดีเรื่องอิเหนา
เนื้อเรื่องย่อ
         มีกษัตริย์วงศ์เทวาสี่พระนคร เป็นพี่น้องกัน ครองเมืองสำคัญตามลำดับ
คือ กุเรปัน ดาหา กาหลังสิงหัดส่าหรี มเหสีของท้าวกุเรปันและท้าวดาหา
เป็นพี่น้องกันด้วย ท้าวกุเรปันมีโอรสชื่อ อิเหนา ซึ่งเป็นตัวละครเอกของเรื่อง
เป็นชายหนุ่มรูปงามมีความสามารถเชี่ยวชาญในการรบ และเป็นชาย
ที่มีเสน่ห์ เป็นที่ชื่นชอบของเพศตรงข้าม ส่วนท้าวดาหามีธิดา ชื่อ บุษบา
ซึ่งรูปงามมาก เป็นนางเอกของเรื่อง
ท้าวกุเรปันและท้าวดาหา ได้หมั้นหมายอิเหนาและบุษบาไว้ตั้งแต่ยังเยาว์วัย
เพื่อจะได้อภิเษกเป็นคู่ครองกันสมตามศักดิ์ศรีของวงศ์เทวา โดยที่
ทั้งสองฝ่ายยังไม่เคยพบเห็นกันมาก่อน ต่อมาอิเหนาเป็นผู้แทนท้าวกุเรปัน
ไปในงานศพท้าวหมันยา ซึ่งมเหสีท้าวหมันหยาเป็นญาติ อิเหนาได้พบ
นางจินตะหราวาตี ธิดาท้าวหมันหยา ได้นางจินตะหราซึ่งต่ำศักดิ์กว่าเป็นชายา
เมื่อถึงเวลาจะต้องแต่งงานกับบุษบา อิเหนาซึ่งหลงนางจินตะหราอยู่ที่
เมืองหมันหยาได้ปฏิเสธไม่กลับไปแต่งงานกับบุษบา
ท้าวดาหาพระบิดาของบุษบากริ้วโกรธมาก จึงประชดยกนางบุษบาให้จรกา
แห่งเมืองล่าสำ ซึ่งรูปชั่วตัวดำ ต่อมา วิหยาสะกำ โอรสท้าวกะหมังกุหนิง
ได้รูปวาดนางบุษบาที่จรกาให้ช่างลอบไปวาด แล้วเทวดามาบันดาล
ให้รูปวาดบุษบาหายไป ๑ รูป ไปตกอยู่ในมือวิหยาสะกำ เมื่อได้เห็นรูป
ก็หลงรัก ส่งทูตไปสู่ขอ แต่ท้าวดาหายกนางบุษบาให้จรกาแล้ว
วิหยาสะกำแห่งเมืองกะหมังกุหนิงจึงยกทัพมาชิงนางบุษบา
ท้าวกุเรปันและมเหสีส่งสารไปให้อิเหนายกทัพไปช่วยเมืองดาหา อิเหนา
ก็โอ้เอ้อยู่ จนต้องมีสารไปตัดเป็นตัดตายว่า
ถึงไม่เลี้ยงบุษบาเห็นว่าชั่ว
แต่เขารู้อยู่ว่าตัวนั้นเป็นพี่
อันองค์ท้าวดาหาธิบดี
นั้นมิใช่อาฤาว่าไร
แม้นมิยกพลไกรไปช่วย
ถึงเราม้วยก็อย่ามาดูผี
อย่าดูทั้งเปลวอัคคี
แต่วันนี้ขาดกันจนบรรลัย

เมื่ออิเหนาได้เห็นบุษบาเพียงครั้งแรกก็หลงรักและคลั่งไคล้อย่างหนัก
จึงทำอุบายลักพานางบุษบาไปซ่อนไว้ในถ้ำและได้อยู่ร่วมกันมีความสุข
แต่เทพยดา ปะตาระกาหลง ซึ่งเป็นอัยกา (ปู่)ไม่พอใจที่อิเหนาประพฤติตน
ไม่ดี จึงลงโทษบันดาลให้ลมพายุหอบนางบุษบา ซึ่งออกมาชมสวนไป
และมีบันดาลให้นางกลายร่างเป็นชาย ชื่อ อุนากรรณ สาปไว้ด้วยว่า
ต่อเมื่อพี่น้องสี่นครมาพบกันพร้อมหน้าเมื่อใด อุนากรรณจึงจะกลายร่าง
จากชายเป็นบุษบาได้ หากไม่ถึงเวลานั้น แม้อิเหนาพบบุษบา ก็ไม่สามารถจะ
ทราบว่านางคือบุษบา ปะตาระกาหลาประทานกฤชให้อุนากรรณ
ต่อจากนั้นอุนากรรณก็เที่ยวร่อนเร่พเนจรไปตามเมืองต่างๆ รบชนะ
ได้ธิดาของเมืองต่างๆ มาร่วมเดินทาง
ฝ่ายอิเหนาเมื่อทราบว่าบุษบาหายไป ก็ออกติดตามหา ระหว่างทางรบชนะ
ได้เมืองต่างๆ ได้พบอุนากรรณ แม้สงสัยว่าเป็นบุษบา แต่สืบอย่างไรก็
พบว่าอุนากรรณเป็นชาย ต่อมาอิเหนาปลอมตัวเป็น ปันหยี (โจรป่า)
ออกตามหานางบุษบาไปทุกหนทุกแห่งด้วยความทุกข์ทรมานใจ
จนในที่สุดได้พบนางบุษบาบวชเป็นแอหนัง (ชี)อยู่ที่เขาตะหลากัน
และตั้งใจว่าจะฆ่าตัวตาย ปันหยีปลอมเป็นเทวดาไปลวงนางแอหนังว่า
จะพาไปสวรรค์ แล้วพานางมายังเมืองกาหลัง ทำอุบายให้ประสับตา
พี่เลี้ยงเล่นหนังพรรณนาเรื่องของอิเหนาและบุษบาให้นางแอหนังดู
ในที่สุดปันหยีก็รู้ว่าแอหนังคือบุษบา ประจวบกับมีเหตุให้ระเด่นพี่น้อง
ทั้งสี่เมืองมาครบ อิเหนาจึงสึกชี แอหนังเป็นบุษบา ภายหลังได้อภิเษกกัน
อิเหนาเป็นบทระพราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะให้บทละคร
เรื่องอิเหนามีคุณค่าสูง ทั้งในเชิงวรรณศิลป์ และนาฏศิลป์ คีตศิลป์
เมื่อทรงพระราชนิพนธ์แต่ละตอนเสร็จแล้ว ได้โปรดเกล้าฯให้
กรมขุนพิทักษ์เทเวศร์ นำไปทดลองขับร้องประกอบดนตรี จัดท่ารำ
แก้ไขปรับปรุงให้รัดกุม กระชับ จนเป็นที่พอพระราชหฤทัยทุกตอน
ด้วยเหตุนี้ บทละครเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ใน
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงมีความไพเราะ งดงาม
เพียบพร้อมด้วยคุณลักษณะแห่งวรรณศิลป์ ในเชิงนาฏศิลป์
ก็เป็นบทละครที่มีลีลางดงาม พระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาจึงเป็นที่ประทับใจ
ผู้คนทุกยุคทุกสมัยตลอดมา มีผู้นำไปแสดงละคร ใช้เป็นบทขับร้อง
และตีพิมพ์เผยแพร่เป็นวรรณคดีอันอมตะของชาติ และ
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว วรรณคดีสโมสร
ได้ตัดสินให้ อิเหนาเป็นยอดแห่งกลอนบทละคร
พระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนานี้ นอกจากมีคุณค่าสูงเชิงวรรณศิลป์และ
นาฏศิลป์ คีตศิลป์ (ขับร้องและดนตรี) แล้ว ยังมีคุณค่าเชิงประวัติศาสตร์
สังคมศาสตร์ ด้วย เช่น สะท้อนภาพบ้านเมืองในสมัยต้นรัตนโกสินทร์
นอกจากนั้น ยังกล่าวถึง ขนบประเพณีสำคัญทั้งในราชสำนักและในหมู่สามัญชน
การดำรงชีวิต สภาพเศรษฐกิจการค้าอาชีพ การแต่งกาย เครื่องใช้ต่างๆ
รวมทั้งศาสนาและศิลปวัฒนธรรมของไทยในอดีต ซึ่งบางอย่างยังเป็นแบบแผน
ประเพณีตกทอดมาถึงปัจจุบัน เช่น ประเพณีสมโภชลูกหลวงประสูติใหม่
ประเพณีการพระเมรุ ซึ่งยังคงเป็นแนวปฏิบัติอยู่ในราชสำนักของไทย และ
ให้ความรู้เกี่ยวกับประเพณีอื่นๆ เช่น แห่สระสนานใหญ่ ประเพณีโสกันต์
ซึ่งนักปราชญ์ทางวรรณคดีและสังคมศาสตร์กล่าวว่า
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์
ไว้ตรงตามตำราราชประเพณีโบราณ เพียงแต่ทรงดัดแปลงแก้ไขให้สอดคล้อง
กับเนื้อเรื่อง ดังนั้น คนไทยสมัยต่อมาจนถึงปัจจุบัน จึงนิยมยกย่องและศึกษา
สืบทอดเรื่องอิเหนาตลอดมา ซึ่งนอกจากได้รับความเพลิดเพลิน
ได้รับอรรถรสอันเปี่ยมด้วยคุณค่าทางวรรณศิลป์แล้ว ยังได้รับประโยชน์
ด้านความรู้อันเป็นแบบแผนแนวทางในการดำรงชีวิตเป็นอย่างดี เช่น
คติในข้อที่บุตรธิดาไม่เชื่อฟังอยู่ในโอวาทบิดามารดา คือ อิเหนา
ซึ่งต้องประสบเคราะห์กรรม พลัดพรากจากบุคคลอันเป็นที่รัก
ต้องได้รับความทุกข์ทรมานยากลำบากสาหัสในการร่อนเร่ติดตาม
หานางบุษบาเป็นเวลาช้านานกว่าจะพ้นปัญหา ความรักหลงในอิสตรี
อาจนำมาซึ่งความเดือดร้อนถึงชีวิต เช่น วิหยาสะกำ และความรักลูกตามใจ
จนเกิดภัยแก่ชีวิตทั้งของตนและลูก เช่น ท้าวกะหมังกุหนิง พระบิดาของวิหยาสะกำ
เป็นต้น



http://www.baanmaha.com/community/thread19870.html



วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

ความหมายของวรรณคดีไทย

         รรณคดี หมายถึง วรรณกรรมหรืองานเขียนที่ยกย่องกันว่าดี มีสาระ และมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ การใช้คำว่าวรรณคดีเพื่อประเมินค่าของวรรณกรรมเกิดขึ้นในพระราชกฤษฎีกาตั้ง วรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ 6
         วรรณคดี เป็นวรรณกรรมที่ถูกยกย่องว่าเขียนดี มีคุณค่า สามารถทำให้ผู้อ่านเกิดอารมสะเทือนใจ มีความคิดเป็นแบบแผน ใช้ภาษาที่ไพเราะ เหมาะแก่การให้ประชาชนได้รับรู้ เพราะ สามารถ ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น รู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควร

    วรรณคดีในภาษาไทย

             วรรณคดีในภาษาไทย ตรงกับคำว่า "Literature ในภาษาอังกฤษ" โดยคำว่า Literature ในภาษาอังกฤษมาจากภาษาลาติน แปลว่า การศึกษา ระเบียบของภาษา ซึ่งในภาษาอังกฤษจะมีความหมายหลายอย่าง ดังนี้

    อาชีพการประพันธ์

            งานเขียนในสมัยใดสมัยหนึ่ง งานประพันธ์ที่ได้รับการยกย่องจากนักวิจารณ์ และผู้อ่านทั่วไป สำหรับในภาษาไทย วรรณคดี ปรากฏครั้งแรกในหนังสือพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสร วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2457 โดยมีความหมายคือ หนังสือที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดี นั้นคือมีการใช้ภาษาอย่างดี มีศิลปะการแต่งที่ยอดเยี่ยมทั้งด้านศิลปะการใช้คำ ศิลปะการใช้โวหารและถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และภาษานั้นให้ความหมายชัดเจน ทำให้เกิดการโน้มน้าวอารมณ์ผู้อ่านให้คล้องตามไปด้วย กล่าวง่ายๆ คือ เมื่อผู้อ่าน ๆ แล้วทำให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้ง ตื่นเต้นดื่มด่ำ หนังสือเล่มใดอ่านแล้วมีอารมณ์เฉยๆ ไม่ซาบซึ้งตรึงใจและทำให้น่าเบื่อถือว่าไม่ใช่วรรณคดี หนังสือที่ทำให้เกิดความรู้สึกดื่มด่ำดังกล่าวนี้จะต้องเป็นความรู้สึกฝ่าย สูง คือทำให้เกิดอารมณ์ความนึกคิดในทางที่ดีงาม ไม่ชักจูงในทางที่ไม่ดี
    การศึกษาวรรณคดีโดยวิเคราะห์ตามประเภท สามารถแบ่งได้เป็นประเภทต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้
    • วรรณคดีคำสอน
    • วรรณคดีศาสนา
    • วรรณคดีนิทาน
    • วรรณคดีลิลิต
    • วรรณคดีนิราศ
    • วรรณคดีเสภา
    • วรรณคดีบทละคร
    • วรรณคดีเพลงยาว
    • วรรณคดีคำฉันท์
    • วรรณคดียอพระเกียรติ
    • วรรณคดีคำหลวง

    http://th.wikipedia.org/wiki/