วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

เรื่อง......วรรณคดี

มัทนะพาธา ตำนานดอกกุหลาบ 
              พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

เนื้อเรื่องย่อ
              จอมเทพสุเทษณ์เป็นเทพผู้ใหญ่บนสรวงสวรรค์ เป็นทุกข์อยู่ด้วยความลุ่มหลงเทพธิดามัทนา แม้จิตระรถผู้สารถีคู่บารมีจะนำรูปของเทพเทวีผู้เลอโฉมหลายต่อหลายองค์มา ถวายให้เลือกชม สุเทษณ์ก็มิสนใจไยดี จิตระรถจึงนำมายาวินวิทยาธรมาเฝ้า สุเทษณ์ให้มายาวินใช้เวทมนตร์เรียกนางมัทนามาหา เมื่อมาแล้วนางมัทนาก็เหม่อลอยมิมีสติสมบูรณ์เพราะตกอยู่ในฤทธิ์มนตรา สุเทษณ์มิต้องการได้นางด้วยวิธีเยี่ยงนั้น จึงให้มายาวินคลายมนตร์ แต่ครั้นได้สติแล้ว นางมัทนาก็ปฏิเสธว่ามิมีจิตเสน่หาตอบด้วยมิว่าสุเทษณ์จะเกี้ยวพาและรำพันรัก อย่างไร สุเทษณ์โกรธนักจึงจะสาปมัทนาให้ไปเกิดในโลกมนุษย์
มัทนาขอให้นางได้ไปเกิดเป็นดอกไม้มีกลิ่นหอมเพื่อให้มีประโยชน์บ้าง สุเทษณ์จึงสาปมัทนาให้ไปเกิดเป็นดอกกุหลาบที่งามทั้งกลิ่นทั้งรูป และมีแต่เฉพาะบนสวรรค์ยังไม่เคยมีบนโลกมนุษย์ โดยที่ในทุกๆ 1 เดือน นางมัทนาจะกลายร่างเป็นคนได้ชั่ว 1 วัน 1 คืน ในเฉพาะวันเพ็ญของแต่ละเดือนเท่านั้น และถ้านางมีความรักเมื่อใด นางก็จะมิต้องคืนรูปเป็นกุหลาบอีก แต่นางจะได้รับความทุกข์ทรมานเพราะความรักจนมิอาจทนอยู่ได้ และเมือนั้นถ้านางอ้อนวอนขอความช่วยเหลือ ตนจึงจะงดโทษทัณฑ์นี้ให้แก่นาง
นางมัทนาไปจุติเป็นกุหลาบงามอยู่ในป่าหิมะวัน บรรดาศิษย์ของฤษีนามกาละทรรศินมาพบเข้าจึงนำความไปบอกพระอาจารย์ กาละทรรศินจึงให้ขุดไปปลูกในบริเวณอาศรมของตน ในขณะที่จะทำการขุดก็มีเสียงผู้หญิงร้อง กาละทรรศินเล็งญาณดูก็รู้ว่าเป็นเทพธิดามาจุติ จึงได้เอ่ยเชิญและสัญญาว่าจะคอยดูแลปกป้องสืบไป เมื่อนั้นการจึงสำเร็จด้วยดี
วันเพ็ญในเดือนหนึ่งท้าวชัยเสนกษัตริย์แห่งหัสตินาปุระได้เสด็จออกล่า สัตว์ในป่าหิมะวันและได้แวะมาพักที่อาศรมพระฤๅษี ครั้นได้เห็นนางมัทนาในโฉมของนารีผู้งดงามก็ถึงกับตะลึงและตกหลุมรัก จนถึงกับรับสั่งให้มหาดเล็กปลูกพลับพลาพักแรมไว้ใกล้อาศรมนั้นทันที
ท้าวชัยเสนรำพันถึงความรักลึกซึ้งที่มีต่อนางมัทนา ครั้นเมื่อนางมัทนาออกมาที่ลานหน้าอาศรมก็มิเห็นผู้ใด ด้วยเพราะท้าวชัยเสนหลบไปแฝงอยู่หลังกอไม้ นางมัทนาได้พรรณาถึงความรักที่เกิดขึ้นในใจอย่างท่วมท้น ท้าวชัยเสนได้สดับฟังทุกถ้อยความจึงเผยตัวออกมาทั้งสองจึงกล่าวถึงความ รู้สึกอันล้ำลึกในใจที่ตรงกันจนเข้าใจในรักที่มีต่อกัน จากค่ำคืนถึงยามรุ่งอรุณ ท้าวชัยเสนจึงทรงประกาศหมั้นและคำสัญญารัก ณ ริมฝั่งลำธารใกล้อาศรมนั้น
เมื่อมีความรักแล้ว นางมัทนาก็ยังคงรูปเป็นนารีผู้งดงาม มิต้องกลายรูปเป็นกุหลาบอีก ท้าวชัยเสนได้ทูลขอนางมัทนา พระฤษีก็ยกให้โดยให้จัดพิธีบูชาทวยเทพและพิธีวิวาหมงคลในป่านั้นเสียก่อน
ท้าวชัยเสนเสด็จกลับวังหลายเพลาแล้วแต่ก็มิได้เสด็จไปยังพระตำหนักข้างใน ด้วยว่ายังทรงประทับอยู่แต่ในอุทยาน พระนางจัณฑี มเหสีให้นางกำนัลมาสืบดูจนรู้ว่าพระสวามีนำสาวชาวป่ามาด้วย จึงตามมาพบท้าวชัยเสนกำลังอยู่กับนางมัทนาพอดี เมื่อพระนางจัณฑีเจรจาค่อนขอดดูหมิ่นนางมัทนา ท้าวชัยเสนก็กริ้วและทรงดุด่าว่าเป็นมเหสีผู้ริษยา
พระนางจัณฑีแค้นใจนัก ให้คนไปทูลฟ้องพระบิดาผู้เป็นเจ้าแห่งมคธนครให้ยกทัพมาทำศึกกับท้าวชัยเสน จากนั้นก็คบคิดกับนางค่อมอราลีและวิทูรพราหมณ์หมอเสน่ห์ ทำอุบายกลั่นแกล้งนางมัทนาโดยส่งหนังสือไปทูลท้าวชัยเสนว่านางมัทนาป่วย ครั้นเมื่อท้าวชัยเสนรีบเสด็จกลับมาเยี่ยมนางมัทนา ก็กลับพบหมอพราหมณ์กำลังทำพิธีอยู่ใกล้ๆต้นกุหลาบ วิทูรกับนางเกศินีข้าหลวงของนางจัณฑีจึงทูลใส่ความว่านางมัทนาให้ทำเสน่ห์ เพื่อให้ได้ร่วมชื่นชูสมสู่กับศุภางค์ ท้าวชัยเสนกริ้วนัก รับสั่งให้ศุภางค์ประหารนางมัทนาแต่ศุภางค์ไม่ยอม ท้าวชัยเสนจึงสั่งประหารทั้งคู่
พระนางจัณฑีได้ช่องรีบเข้ามาทูลว่าตนจะอาสาออกไปห้ามศึกพระบิดาซึ่งคง เข้าใจผิดว่านางกับท้าวชัยเสนนั้นบาดหมางกัน แต่ท้าวชัยเสนตรัสว่าทรงรู้ทันอุบายของนางที่คิดก่อศึกแล้วจะห้ามศึกเอง พระองค์จะขอออกทำศึกอีกคราแล้วตัดหัวกษัตริย์มคธพ่อตาเอามาให้นางผู้ขบถต่อ สวามีตนเอง
ขณะตั้งค่ายรบอยู่ที่นอกเมือง วิทูรพรหมณ์เฒ่าได้มาขอเข้าเฝ้าท้าวชัยเสนเพื่อสารภาพความทั้งปวงว่าพระนาง จัณฑีเป็นผู้วางแผนการร้าย ซึ่งในที่สุดแล้วตนสำนึกผิดและละอายต่อบาปที่เป้นเหตุให้คนบริสุทธิ์ต้องได้ รับโทษประหาร ท้าวชัยเสนทราบความจริงแล้วคั่งแค้นจนดำริจะแทงตนเองให้ตาย แต่อำมาตย์นันทิวรรธนะเข้าห้ามไว้ทันและสารภาพว่าในคืนเกิดเหตุนั้นตนละเมิด คำสั่ง มิได้ประหารศุภางค์และนางมัทนา หากแต่ได้ปล่อยเข้าป่าไป ซึ่งนางมัทนานั้นได้โสมะทัตศิษญ์เอกของฤษีกาละทรรศินนำพากลับสู่อาศรมเดิม แต่ศุภางค์นั้นแฝงกลับเข้าไปร่วมกับกองทัพแล้วออกต่อสู้กับข้าสึกจนตัวตาย ท้าวชัยเสนจึงรับสั่งให้ประหารท้าวมคธที่ถูกจับมาเป็นเชลยไว้ก่อนหน้านั้น แล้ว ส่วนพระนางจัณฑีมเหสีนั้นทรงให้เนรเทศออกนอกพระนคร ด้วยทรงเห็นว่าอันนารีผู้มีใจมุ่งร้ายต่อผู้เป็นสามีก็คงต้องแพ้ภัยตนเอง มิอาจอยู่เป็นสุขได้นานแน่
ฝ่ายนางมัทนานั้นได้ทำพิธีบูชาเทพและวอนขอร้องให้สุเทษณ์จอมเทพช่วยนาง ด้วย สุเทษณ์นั้นก็ยินดีจะแก้คำสาปและรับนางเป็นมเหสี แต่นางมัทนาก็ยังคงปฏิเสธและว่าอันนารีจะมีสองสามีได้อย่างไร สุเทษณ์เห็นว่านางมัทนายังคงปฏิเสธความรักของตนจึงกริ้วนักสาปส่งให้นางมัท นาเป็นดอกกุหลาบไปตลอดกาล มิอาจกลายร่างเป็นมนุษย์ได้อีกต่อไป
เมื่อท้าวชัยเสนตามมาถึงในป่า นางปริยัมวะทาที่ตามมาปรนนิบัติดูแลนางมัทนาด้วยก็ทูลเล่าความทั้งสิ้นให้ ทรงทราบ ท้าวชัยเสนจึงร้องร่ำให้ด้วยความอาลัยรักแล้วขอให้พระฤษีช่วย โดยใช้มนตราและกล่าวเชิญนางมัทนาให้ยินยอมกลับเข้าไปยังเวียงวังกับตนอีกครา
เมื่อพระฤษีทำพิธีแล้ว ท้าวชัยเสนก็รำพันถึงความหลงผิดและความรักที่มีต่อนางมัทนาให้ต้นกุหลาบได้ รับรู้ จากนั้นจึงสามารถขุดต้นกุหลาบได้สำเร็จ ท้าวชัยเสนได้นำต้นกุหลาบขึ้นวอทองเพื่อนำกลับไปปลูกในอุทยาน และขอให้ฤๅษีกาละทรรศินให้พรวิเศษว่ากุหลาบจะยังคงงดงามมิโรยราตราบจนกว่า ตัวพระองค์เองจะสิ้นอายุขัย พระฤษีก็อวยพรให้ดังใจ และประสิทธิประสาทพรให้กุหลาบนั้นดำรงอยู่คู่โลกนี้มิมีสูญพันธ์ อีกทั้งยังเป็นไม้ดอกที่กลิ่นอันหอมหวานสามารถช่วยดับทุกข์ในใจคนและดล บันดาลให้จิตใจเบิกบานเป็นสุขได้ ชาย-หญิงเมื่อมีรักก็จักใช้ดอกกุหลาบเป็นสัญญลักษณ์แห่งความรักแท้สืบต่อไป

http://th.wikipedia.org/wiki/





                                                       พระเพื่อนพระแพง

วรรณคดีเรื่องอิเหนา
เนื้อเรื่องย่อ
         มีกษัตริย์วงศ์เทวาสี่พระนคร เป็นพี่น้องกัน ครองเมืองสำคัญตามลำดับ
คือ กุเรปัน ดาหา กาหลังสิงหัดส่าหรี มเหสีของท้าวกุเรปันและท้าวดาหา
เป็นพี่น้องกันด้วย ท้าวกุเรปันมีโอรสชื่อ อิเหนา ซึ่งเป็นตัวละครเอกของเรื่อง
เป็นชายหนุ่มรูปงามมีความสามารถเชี่ยวชาญในการรบ และเป็นชาย
ที่มีเสน่ห์ เป็นที่ชื่นชอบของเพศตรงข้าม ส่วนท้าวดาหามีธิดา ชื่อ บุษบา
ซึ่งรูปงามมาก เป็นนางเอกของเรื่อง
ท้าวกุเรปันและท้าวดาหา ได้หมั้นหมายอิเหนาและบุษบาไว้ตั้งแต่ยังเยาว์วัย
เพื่อจะได้อภิเษกเป็นคู่ครองกันสมตามศักดิ์ศรีของวงศ์เทวา โดยที่
ทั้งสองฝ่ายยังไม่เคยพบเห็นกันมาก่อน ต่อมาอิเหนาเป็นผู้แทนท้าวกุเรปัน
ไปในงานศพท้าวหมันยา ซึ่งมเหสีท้าวหมันหยาเป็นญาติ อิเหนาได้พบ
นางจินตะหราวาตี ธิดาท้าวหมันหยา ได้นางจินตะหราซึ่งต่ำศักดิ์กว่าเป็นชายา
เมื่อถึงเวลาจะต้องแต่งงานกับบุษบา อิเหนาซึ่งหลงนางจินตะหราอยู่ที่
เมืองหมันหยาได้ปฏิเสธไม่กลับไปแต่งงานกับบุษบา
ท้าวดาหาพระบิดาของบุษบากริ้วโกรธมาก จึงประชดยกนางบุษบาให้จรกา
แห่งเมืองล่าสำ ซึ่งรูปชั่วตัวดำ ต่อมา วิหยาสะกำ โอรสท้าวกะหมังกุหนิง
ได้รูปวาดนางบุษบาที่จรกาให้ช่างลอบไปวาด แล้วเทวดามาบันดาล
ให้รูปวาดบุษบาหายไป ๑ รูป ไปตกอยู่ในมือวิหยาสะกำ เมื่อได้เห็นรูป
ก็หลงรัก ส่งทูตไปสู่ขอ แต่ท้าวดาหายกนางบุษบาให้จรกาแล้ว
วิหยาสะกำแห่งเมืองกะหมังกุหนิงจึงยกทัพมาชิงนางบุษบา
ท้าวกุเรปันและมเหสีส่งสารไปให้อิเหนายกทัพไปช่วยเมืองดาหา อิเหนา
ก็โอ้เอ้อยู่ จนต้องมีสารไปตัดเป็นตัดตายว่า
ถึงไม่เลี้ยงบุษบาเห็นว่าชั่ว
แต่เขารู้อยู่ว่าตัวนั้นเป็นพี่
อันองค์ท้าวดาหาธิบดี
นั้นมิใช่อาฤาว่าไร
แม้นมิยกพลไกรไปช่วย
ถึงเราม้วยก็อย่ามาดูผี
อย่าดูทั้งเปลวอัคคี
แต่วันนี้ขาดกันจนบรรลัย

เมื่ออิเหนาได้เห็นบุษบาเพียงครั้งแรกก็หลงรักและคลั่งไคล้อย่างหนัก
จึงทำอุบายลักพานางบุษบาไปซ่อนไว้ในถ้ำและได้อยู่ร่วมกันมีความสุข
แต่เทพยดา ปะตาระกาหลง ซึ่งเป็นอัยกา (ปู่)ไม่พอใจที่อิเหนาประพฤติตน
ไม่ดี จึงลงโทษบันดาลให้ลมพายุหอบนางบุษบา ซึ่งออกมาชมสวนไป
และมีบันดาลให้นางกลายร่างเป็นชาย ชื่อ อุนากรรณ สาปไว้ด้วยว่า
ต่อเมื่อพี่น้องสี่นครมาพบกันพร้อมหน้าเมื่อใด อุนากรรณจึงจะกลายร่าง
จากชายเป็นบุษบาได้ หากไม่ถึงเวลานั้น แม้อิเหนาพบบุษบา ก็ไม่สามารถจะ
ทราบว่านางคือบุษบา ปะตาระกาหลาประทานกฤชให้อุนากรรณ
ต่อจากนั้นอุนากรรณก็เที่ยวร่อนเร่พเนจรไปตามเมืองต่างๆ รบชนะ
ได้ธิดาของเมืองต่างๆ มาร่วมเดินทาง
ฝ่ายอิเหนาเมื่อทราบว่าบุษบาหายไป ก็ออกติดตามหา ระหว่างทางรบชนะ
ได้เมืองต่างๆ ได้พบอุนากรรณ แม้สงสัยว่าเป็นบุษบา แต่สืบอย่างไรก็
พบว่าอุนากรรณเป็นชาย ต่อมาอิเหนาปลอมตัวเป็น ปันหยี (โจรป่า)
ออกตามหานางบุษบาไปทุกหนทุกแห่งด้วยความทุกข์ทรมานใจ
จนในที่สุดได้พบนางบุษบาบวชเป็นแอหนัง (ชี)อยู่ที่เขาตะหลากัน
และตั้งใจว่าจะฆ่าตัวตาย ปันหยีปลอมเป็นเทวดาไปลวงนางแอหนังว่า
จะพาไปสวรรค์ แล้วพานางมายังเมืองกาหลัง ทำอุบายให้ประสับตา
พี่เลี้ยงเล่นหนังพรรณนาเรื่องของอิเหนาและบุษบาให้นางแอหนังดู
ในที่สุดปันหยีก็รู้ว่าแอหนังคือบุษบา ประจวบกับมีเหตุให้ระเด่นพี่น้อง
ทั้งสี่เมืองมาครบ อิเหนาจึงสึกชี แอหนังเป็นบุษบา ภายหลังได้อภิเษกกัน
อิเหนาเป็นบทระพราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะให้บทละคร
เรื่องอิเหนามีคุณค่าสูง ทั้งในเชิงวรรณศิลป์ และนาฏศิลป์ คีตศิลป์
เมื่อทรงพระราชนิพนธ์แต่ละตอนเสร็จแล้ว ได้โปรดเกล้าฯให้
กรมขุนพิทักษ์เทเวศร์ นำไปทดลองขับร้องประกอบดนตรี จัดท่ารำ
แก้ไขปรับปรุงให้รัดกุม กระชับ จนเป็นที่พอพระราชหฤทัยทุกตอน
ด้วยเหตุนี้ บทละครเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ใน
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงมีความไพเราะ งดงาม
เพียบพร้อมด้วยคุณลักษณะแห่งวรรณศิลป์ ในเชิงนาฏศิลป์
ก็เป็นบทละครที่มีลีลางดงาม พระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาจึงเป็นที่ประทับใจ
ผู้คนทุกยุคทุกสมัยตลอดมา มีผู้นำไปแสดงละคร ใช้เป็นบทขับร้อง
และตีพิมพ์เผยแพร่เป็นวรรณคดีอันอมตะของชาติ และ
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว วรรณคดีสโมสร
ได้ตัดสินให้ อิเหนาเป็นยอดแห่งกลอนบทละคร
พระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนานี้ นอกจากมีคุณค่าสูงเชิงวรรณศิลป์และ
นาฏศิลป์ คีตศิลป์ (ขับร้องและดนตรี) แล้ว ยังมีคุณค่าเชิงประวัติศาสตร์
สังคมศาสตร์ ด้วย เช่น สะท้อนภาพบ้านเมืองในสมัยต้นรัตนโกสินทร์
นอกจากนั้น ยังกล่าวถึง ขนบประเพณีสำคัญทั้งในราชสำนักและในหมู่สามัญชน
การดำรงชีวิต สภาพเศรษฐกิจการค้าอาชีพ การแต่งกาย เครื่องใช้ต่างๆ
รวมทั้งศาสนาและศิลปวัฒนธรรมของไทยในอดีต ซึ่งบางอย่างยังเป็นแบบแผน
ประเพณีตกทอดมาถึงปัจจุบัน เช่น ประเพณีสมโภชลูกหลวงประสูติใหม่
ประเพณีการพระเมรุ ซึ่งยังคงเป็นแนวปฏิบัติอยู่ในราชสำนักของไทย และ
ให้ความรู้เกี่ยวกับประเพณีอื่นๆ เช่น แห่สระสนานใหญ่ ประเพณีโสกันต์
ซึ่งนักปราชญ์ทางวรรณคดีและสังคมศาสตร์กล่าวว่า
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์
ไว้ตรงตามตำราราชประเพณีโบราณ เพียงแต่ทรงดัดแปลงแก้ไขให้สอดคล้อง
กับเนื้อเรื่อง ดังนั้น คนไทยสมัยต่อมาจนถึงปัจจุบัน จึงนิยมยกย่องและศึกษา
สืบทอดเรื่องอิเหนาตลอดมา ซึ่งนอกจากได้รับความเพลิดเพลิน
ได้รับอรรถรสอันเปี่ยมด้วยคุณค่าทางวรรณศิลป์แล้ว ยังได้รับประโยชน์
ด้านความรู้อันเป็นแบบแผนแนวทางในการดำรงชีวิตเป็นอย่างดี เช่น
คติในข้อที่บุตรธิดาไม่เชื่อฟังอยู่ในโอวาทบิดามารดา คือ อิเหนา
ซึ่งต้องประสบเคราะห์กรรม พลัดพรากจากบุคคลอันเป็นที่รัก
ต้องได้รับความทุกข์ทรมานยากลำบากสาหัสในการร่อนเร่ติดตาม
หานางบุษบาเป็นเวลาช้านานกว่าจะพ้นปัญหา ความรักหลงในอิสตรี
อาจนำมาซึ่งความเดือดร้อนถึงชีวิต เช่น วิหยาสะกำ และความรักลูกตามใจ
จนเกิดภัยแก่ชีวิตทั้งของตนและลูก เช่น ท้าวกะหมังกุหนิง พระบิดาของวิหยาสะกำ
เป็นต้น



http://www.baanmaha.com/community/thread19870.html












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น